ซื้อขาย REC ในไทย ทำได้อย่างไร เช็กราคาได้ที่ไหน

ซื้อขาย REC ในไทย ทำได้อย่างไร เช็กราคาได้ที่ไหน

แม้การมุ่งหน้าสู่เป้าหมายด้านพลังงานจะยังไม่ใช่ภารกิจหลักของทุกองค์กรในปัจจุบัน แต่ท้ายที่สุดประเด็นนี้จะกลายเป็นเรื่องสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อีก ด้วยข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นในภาคธุรกิจ หลายประเทศเริ่มประเมินคู่ค้าจาก Carbon Footprint มีการเก็บภาษีสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณสูง ผู้บริโภคก็ให้ความนิยมกับธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากการวางแผนพัฒนาโครงการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืนขององค์กร การซื้อเครดิตด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง REC จึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจ

การใส่ใจสิ่งแวดล้อม ไม่ควรเริ่มที่ REC

เนื่องจากพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานหลักที่ใช้ในทุกองค์กร และยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณมาก จึงมีนโยบายผลักดันให้เกิดการผลิตและใช้งานพลังงานไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ผ่านกลไกการซื้อขายเครดิตด้านสิ่งแวดล้อมที่มีชื่อว่า REC องค์กรที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดสามารถซื้อสิทธิ์ REC จากผู้ผลิต เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมที่ทำอยู่ได้ ถึงจะฟังดูง่ายและสะดวกสบาย แต่ REC ก็ไม่ควรเป็นทางเลือกแรกที่องค์กรนึกถึง

การมองภาพรวมของการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในองค์กร พร้อมกับหาทางลดปริมาณการใช้งานแบบยั่งยืนนั้นสำคัญกว่า อาจเริ่มจากเรื่องง่ายๆ อย่างเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้เป็นแบบประหยัดไฟ กำหนดช่วงเวลาใช้ไฟให้เหมาะสม รวมถึงการช่วยสอดส่องดูแลไม่ให้มีกิจกรรมที่สิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยใช่เหตุ กรณีที่สามารถติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ได้ ก็จะช่วยลดภาระค่าไฟได้ไม่น้อย ทั้งยังเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดขององค์กรโดยอัตโนมัติ เมื่อปรับเปลี่ยนทุกอย่างจนครบถ้วนแล้ว หรือมีข้อจำกัดที่ทำให้ปรับอะไรได้ไม่มากนัก จึงค่อยซื้อ REC มาเป็นส่วนเสริม

REC คืออะไร

REC หรือ Renewable Energy Certificate คือ กลไกการซื้อขายเครดิตสิ่งแวดล้อมที่มาในรูปของใบรับรอง สำหรับใช้อ้างสิทธิ์ในการผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยมีหน่วยเทียบเป็น 1 REC เท่ากับปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตด้วยพลังงานสะอาด 1 MWh ซึ่งถ้าองค์กรใช้ไฟฟ้าตามปกติ แล้วซื้อ REC ให้ครอบคลุมปริมาณการใช้ไฟฟ้า ก็จะถือเป็นการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม และทำให้องค์กรมีคุณสมบัติตรงตาม RE100 หรือ Renewable 100% ได้

ปัจจุบันมีเพียงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ. หรือ EGAT) เจ้าเดียวเท่านั้นที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รับรอง REC ในประเทศไทย เป็น Local Issuer ที่ได้รับมอบหมายบทบาทหน้าที่จากเจ้าของมาตรฐาน I-REC จากประเทศเนเธอแลนด์ นับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา กฟผ. จึงเป็นหน่วยงานหลักที่จะดำเนินการขึ้นทะเบียน REC และตรวจสอบทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง ทำให้มั่นใจได้ว่า REC ที่ทำการซื้อขายในไทยนั้นมีความน่าเชื่อถือ และจะไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง

อ่านเพิ่มเติม : Renewable Energy Certificate (REC) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

ทำไมต้องซื้อ REC

เนื่องจากโครงข่ายไฟฟ้าที่ใช้กันปกติทั่วโลกรวมถึงในไทยจะเป็นรวมศูนย์ (Centralized) กล่าวคือไม่ว่าไฟฟ้าจะผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือพลังงานสะอาด ก็จะถูกส่งเข้าระบบโครงข่ายรวมกัน ทำให้ไม่สามารถแยกได้ว่าไฟฟ้าหน่วยไหนมาจากแหล่งใด ส่งผลให้องค์กรต่างๆ ที่ใช้ไฟฟ้าจากส่วนกลาง ไม่สามารถทราบและอ้างสิทธิ์ได้ว่าตนได้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาดไปมากน้อยเพียงใด

การใช้ระบบเครดิตอย่าง REC จึงเป็นทางออกที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก เพราะช่วยให้สามารถซื้อและอ้างสิทธิ์การใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาดผ่านการซื้อใบประกาศ REC ทำให้องค์กรต่างๆ สามารถบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงานสะอาดตามที่ต้องการได้ อย่างเช่น

  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 2
  • เข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)
  • ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนครอบคลุมความต้องการขององค์กร 100% (RE100)
  • เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดภายในองค์กร
  • ช่วยสนับสนุนผู้ผลิตพลังงานสะอาด

การซื้อ REC

การซื้อขาย REC ในประเทศไทยจะเป็นแบบผู้ซื้อติดต่อกับผู้ขายโดยตรง เพียงแค่แจ้งรายละเอียดความต้องการต่างๆ ให้ครบถ้วน ซึ่งหลักๆ ก็ได้แก่

  • ผู้ซื้อต้องเลือกประเภทของเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่สนใจ ซึ่งในประเทศไทยจะมีให้เลือก 4 ประเภท คือ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานชีวมวล
  • ผู้ซื้อต้องกำหนดปีที่ต้องการใช้งาน REC หรือต้องการยืนยันสิทธิ์การใช้พลังงานสะอาด
  • ผู้ซื้อต้องระบุจำนวน REC ที่ต้องการ อ้างอิงจากปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ และแผนการเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดขององค์กร

ทั้งนี้ แม้ว่าขั้นตอนทั้งหมดจะดูเหมือนไม่ซับซ้อนเท่าไร แต่ผู้ซื้อก็จะต้องค้นหาผู้ผลิตด้วยตัวเอง ต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือและความพร้อมของผู้ผลิต ว่าสอดคล้องกับความต้องการหรือไม่ และต้องเจรจาต่อรองจนกว่าจะได้ข้อเสนอที่ลงตัวที่สุด ด้วยความยุ่งยากเหล่านี้ หลายๆ องค์กรจึงเลือกที่จะใช้บริการกับ REC Thailand ให้ช่วยดูแลจัดหาและส่งมอบ REC ที่มีคุณภาพสูงตามความต้องการขององค์กร โดยสามารถจัดหาได้ครอบคลุมทุกเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ ชีวมวล ทั้งในประเทศไทย และประเทศข้างเคียง และสามารถดูแลได้ตลอดทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ

การขาย REC

ทางฝั่งของผู้ขาย REC จะมีภาระหน้าที่มากกว่าฝั่งผู้ซื้อเล็กน้อย โดยเริ่มจากการติดต่อขอขึ้นทะเบียน REC กับ กฟผ. เสียก่อน ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาในการรวบรวมเอกสารและตรวจสอบส่วนที่เกี่ยวข้องโดยไม่มีระยะเวลาที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเอกสาร และความหนาแน่นของผู้สมัครในช่วงนั้น

การลงทะเบียนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การลงทะเบียนโรงไฟฟ้า (Production Facility Registration) และการลงทะเบียนบัญชีซื้อขาย (Participant Account) โดยหากโรงไฟฟ้าต้องการดำเนินการซื้อขายเองก็จำเป็นจะต้องลงทะเบียนทั้งสองบัญชี แต่โรงไฟฟ้าส่วนมากจะนิยมใช้บัญชีซื้อขายผ่านตัวแทนซื้อขายอย่าง REC Thailand เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการสมัคร การดูแลบัญชี ตลอดจนการหาลูกค้าเพื่อนำไปสู่การปิดการขาย REC

  1. ผู้ขายขึ้นทะเบียนโครงการผ่าน EGAT I-REC ISSUER ตามกระบวนการขั้นตอน
  2. ผู้ขายได้รหัสบัญชี Production Device
  3. เริ่มต้นการซื้อและขายผ่านบัญชี Participant Account 
  4. ในกรณีที่ผู้ขายไม่ได้สมัครบัญชี Participant Account ผู้ขายสามารถติดต่อและแสดงความต้องการในการขายกับตัวแทนจำหน่าย เช่น REC Thailand เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและวางแผนการขาย I-REC 
  5. เมื่อได้รับการยืนยันการซื้อขาย ผู้ขายจะต้องรวบรวมเอกสารที่ใช้ในการขอรับรอง I-REC และทำการ ขอรับรอง I-REC กับทาง กฟผ. ด้วยตนเอง โดย REC เหล่านี้จะถูกโอนเข้าสู่บัญชีของ REC Thailand
  6. ทาง REC Thailand จะดำเนินการส่งมอบสินค้า ตลอดจนดูแลขั้นตอนการชำระเงินให้อยู่ในเงื่อนไข

ปัจจุบันนอกเหนือจากความยุ่งยากในการขึ้นทะเบียนแล้ว ยังพบปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นคือการไม่เข้าใจตลาด เพราะหากขึ้นทะเบียนแต่ไม่สามารถขายได้นั้น เท่ากับว่าธุรกิจไม่มีความคืบหน้าเช่นเดียวกัน การเข้าใจในตลาดไม่ว่าจะเป็นการเข้าใจกลุ่มลูกค้า เข้าใจความต้องการที่แตกต่าง รวมถึงราคาที่มีความไม่แน่นอน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรงไฟฟ้าไม่ว่าจากเทคโนโลยีใดก็ยังคงเลือกใช้บริการ REC Thailand เพื่อลดความกังวลต่อปัญหาส่วนนี้ที่จะเกิดขึ้น

REC ราคาเท่าไร เช็กได้ที่ไหน

เมื่อพูดถึงกลไกการซื้อขายก็ต้องมีประเด็นของราคากลางขึ้นมา แต่ปัจจุบันการซื้อขาย REC ในประเทศไทยยังเป็นภาคสมัครใจ ไม่ใช่ภาคบังคับ จึงไม่มีการกำหนดราคากลางในการซื้อหรือขาย นอกจากนั้นแต่ละเทคโนโลยีก็มีราคาไม่เท่ากัน หลายคนจึงมองว่านี่เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง เพราะผู้ซื้อจะไม่มีทางรู้เลยว่ากำลังจ่ายแพงเกินไปหรือไม่ ในส่วนนี้ทาง REC Thailand ก็สามารถช่วยสืบข้อมูลราคาอย่างถี่ถ้วนจากบรรดาผู้ผลิตตามรายละเอียดความต้องการของผู้ซื้อ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ซื้อได้ REC ที่มีราคาเหมาะสม

บทสรุป

REC อาจยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับหลายๆ องค์กร แต่นี่คือสิ่งที่เราต้องเตรียมพร้อมเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคแห่งพลังงานสะอาดในอนาคต ซึ่งการซื้อขาย REC ก็ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เพราะมีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนและมีระบบรองรับอยู่แล้ว หรือจะเลือกใช้บริการผู้เชี่ยวชาญให้ช่วยจัดการ REC แบบครบวงจรแทนก็ได้ เพื่อช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร ทั้งยังช่วยให้ได้ REC ที่ตรงตามความต้องการมากที่สุดทั้งในแง่ของคุณภาพและราคา

REC Thailand พร้อมดูแลทุกความต้องการ

REC Thailand คือผู้ให้บริการ REC ชั้นนำของประเทศไทย ภายใต้เครือบริษัท GMS Interneer ซึ่งมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมพลังงานมานานกว่า 20 ปี โดยมีบริการครอบคลุมความต้องการทั้งฝั่งของผู้ซื้อและผู้ขาย ช่วยอำนวยความสะดวก ให้คำแนะนำ พร้อมนำเสนอบริการที่ตอบโจทย์เป้าหมายด้านพลังงานขององค์กรได้อย่างแท้จริง ทีมงานของเราล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดหาและส่งมอบ REC คุณภาพสูง รองรับเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่หลากหลาย และยังรองรับการลงทะเบียนทุกรูปแบบด้วย ส่วนของการซื้อขายก็โดดเด่นด้วยสัญญาที่ยืดหยุ่น สามารถปรับให้สอดคล้องกับการเติบโตขององค์กรในอนาคตได้

ที่ผ่านมา REC Thailand ได้ร่วมเคียงข้างหลากหลายองค์กรในการแก้โจทย์ความต้องการด้านพลังงานสะอาด ผ่านการซื้อ REC โดยเราสามารถนำเสนอให้ได้ทุกเทคโนโลยีที่มีการผลิตในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานชีวมวล นอกจากนี้เรายังมีเครือข่ายโรงไฟฟ้าที่มีการขึ้นทะเบียนกับ I-REC หลากหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม ฟิลิปปินส์ หรือสิงคโปร์

Scroll to Top